ข้อดีของระบบเพิ่มแรงดันแบบแบ่งเป็นโซน

เรียนรู้ว่าการแบ่งโซนจะมีผลดีต่อโซลูชั่นเพิ่มแรงดันของคุณ โดยการลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มความสะดวกสบายอย่างไร

ก่อนทำการออกแบบระบบเพิ่มแรงดัน เป็นสิ่งที่ดีที่จะพิจารณาถึงข้อดีและ ข้อเสียของวิธีการต่าง ๆ ในหัวข้อนี้จะให้คุณเห็นถึง การเปรียบเทียบ ระหว่างระบบเพิ่มแรงดันเดี่ยว (single booster systems) และระบบที่แยกเป็นโซน (zone divided systems) มาเริ่มกันที่การพิจารณา ระบบเพิ่มแรงดันเดี่ยว ระบบเพิ่มแรงดันเดี่ยว จะสูบจ่ายน้ำทั่วทั้งอาคาร ด้วยแรงดันผ่านทาง ท่อตั้ง (Riser Pipe) เพียงท่อเดียว ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ ชุดเพิ่มแรงดันเสริม ไม่ว่าจะเป็นที่ชั้นที่อยู่สูงขึ้นไปหรือ ที่บริเวณชั้นใต้ดิน จึงทำให้ระบบเพิ่มแรงดันเดี่ยวเป็นโซลูชั่น ที่ใช้พื้นที่น้อยที่สุด ส่วนข้อเสียของการมีท่อตั้งเพียงท่อเดียว และชุดเพิ่มแรงดันชุดเดียว ก็คือ เป็นเรื่องยากมากที่จะป้องกัน ความผันแปรในแรงดัน โดยถึงแม้จะมีวาล์วระบายแรงดัน ที่ติดตั้งไว้ที่ท่อตั้งก็ตาม แรงดันก็คงยังผันผวน (fluctuate) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้น วาล์วระบายแรงดัน มีความซับซ้อนในการทำงาน มีราคาแพงสำหรับการดำเนินงาน และเหนือสิ่งอื่นใด คือสิ้นเปลืองพลังงานมาก เนื่องจากคุณกำจัดแรงดัน ที่คุณเสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว ให้กับชุดเพิ่มแรงดันเพื่อสร้างแรงดันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม ประเด็นเหล่านี้ อาจขจัดออกไปได้ทั้งหมด ด้วยระบบที่แยกเป็นโซน ในระบบที่แยกเป็นโซน ระบบสูบจ่ายถูกแยกออก เป็นหลาย ๆ โซน โดยแต่ละโซนมีชุดเพิ่มแรงดันของตนเอง ลองใช้ตึกสูง 70 เมตร ที่มี 17 ชั้นเป็นตัวอย่าง เพื่อดูว่าจะแบ่งอาคารออกเป็นกี่โซน สิ่งแรกที่ควรทำก็คือการกำหนดโหลดโปรไฟล์ (Load Profile - ข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำ) ของอาคาร ขึ้นอยู่กับข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำ ชุดเพิ่มแรงดันสามารถสูบจ่ายน้ำ ได้สูงถึงหกชั้น ที่มีแรงดันเพียงพอ โดยไม่ต้องใช้วาล์วระบายแรงดัน ในกรณีนี้ การใช้น้ำรวมของอาคาร คือ สมมติว่า 100 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง เพราะฉะนั้น โซลูชั่นที่เหมาะสมที่สุด ณ ที่นี้คือ การแบ่งโซนเป็นสามโซน ชุดเพิ่มแรงดันหมายเลข 1 จ่ายน้ำไปยังชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 6 ชุดเพิ่มแรงดันหมายเลข 2 จ่ายน้ำไปยังชั้นที่ 7 ถึงชั้นที่ 13 และชุดเพิ่มแรงดันหมายเลข 3 จ่ายน้ำไปยังชั้นที่ 14 ถึงชั้นที่ 17 แรงดันขั้นต่ำของชั้นด้านบน ในแต่ละโซน รักษาระดับไว้ที่ 1.5 ถึง 2 บาร์ ในขณะที่แรงดันสูงสุดที่ชั้นล่างสุด ของแต่ละโซน จะไม่เกิน 4 ถึง 4.5 บาร์ ซึ่งหมายความว่า แรงดันน้ำที่ส่งไป จะถูกรักษาไว้ในช่วงระดับ (band) ที่รับได้ โดยช่วงระดับจะเป็นเท่าไรนั้น จะแตกต่างกันไปของแต่ละระบบ แต่โดยรวมแล้ว วิธีการนี้จะ ลดการบริโภคพลังงาน และต้นทุนการดำเนินงานลง ซึ่งเหล่านี้ไม่ใช่เพียงประโยชน์ของ การแบ่งโซนเท่านั้น เนื่องจากชุดเพิ่มแรงดันทั้งหมด ถูกติดตั้งไว้ที่ชั้นใต้ดิน จึงไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่พิเศษเพิ่มเติม ที่ชั้นด้านบน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ วาล์วระบายแรงดัน ซึ่งเป็นการตัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เนื่องจากวาล์วมีราคาแพงในการดำเนินงาน และท้ายที่สุด ระบบจะมีความเสี่ยงน้อยลง ในกรณีที่ปั๊มทำงานล้มเหลว ช่วงท้ายก่อนจบบทเรียน มาเปรียบเทียบกันถึง ต้นทุนรวมตลอดอายุการใช้งาน ของทั้งสองระบบกัน เนื่องจากระบบที่แยกเป็นโซน เป็นระบบที่ประหยัดพลังงานมากกว่า ระบบนี้ต้องติดตั้งท่อตั้ง จำนวนมากกว่าไว้ในอาคาร แล้วจะทำให้เป็นโซลูชั่น ที่น่าสนใจน้อยลงหรือไม่ในเชิงการลงทุน?

คำตอบก็คือ ไม่ ทั้งสองประเด็น คือค่าใช้จ่ายในการลงทุนเริ่มแรก และค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน นั้นต่ำกว่าอย่างแท้จริง สำหรับระบบที่แยกเป็นโซน โดยต่ำกว่าระบบเพิ่มแรงดันเดี่ยว ตามแผนภูมิได้แสดงถึง ต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน ของระบบที่แยกเป็นโซน ในช่วงระยะเวลาที่นานกว่า 20 ปีนั้น อยู่ที่เกือบ 65,000 ยูโร ต่ำกว่าของระบบเพิ่มแรงดันเดี่ยว ดังนั้นการเลือกออกแบบระบบเพิ่มแรงดันแบบแบ่งโซน แทนชุดเพิ่มแรงดันเดี่ยว จึงให้ประโยชน์ในหลายด้าน โดยไม่เพียงระบบที่แยกเป็นโซน จะทำให้มั่นใจได้ถึงแรงดันน้ำที่ สม่ำเสมอที่ไม่ผันผวนแล้ว ไม่ว่าความสูงของอาคารจะเป็นเท่าใดก็ตาม ยังเป็นโซลูชั่นที่น่าสนใจในแง่ของ การดูต้นทุนตลอดอายุการใช้งานด้วย

ภาพโดยรวมหลักสูตร

โมดูล
โมดูล : 3
เวลาที่ใช้
เวลาที่ใช้: 15 นาที
ระดับความยากง่าย
ระดับความยากง่าย : ปานกลาง