ทำความรู้จักกับระบบเพิ่มแรงดันน้ำของ Grundfos: ใช้ที่ไหนและเลือกโซลูชั่นอะไรดี
ทำความเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเพิ่มแรงดัน และเรียนรู้เกี่ยวกับโซลูชั่นที่พบได้บ่อยที่สุด
แรงดันน้ำที่ไม่เพียงพอ เป็นปัญหาที่อาคารสูงต่างๆ มักประสบ ภาพยนตร์เรื่องนี้จะทำให้คุณเข้าใจ ถึงหลักการพื้นฐานของ การเพิ่มแรงดัน รวมถึงการแนะนำให้คุณรู้จักกับ โซลูชั่นบางอย่างที่พบได้โดยทั่วไป มาเริ่มกันที่การเข้าไปดูถึง การเพิ่มแรงดันที่เป็นพื้นฐานทั่วไปก่อน ชุดเพิ่มแรงดันผลิตด้วยปั๊มเพิ่มแรงดัน ที่อยู่ภายใต้การควบคุม โดยมีวัตถุประสงค์คือเพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกคนในอาคารได้รับ ความสะดวกสบายสูงสุด ลองจินตนาการถึงอาคารสูง ที่ไม่มีการเพิ่มแรงดัน แรงดันน้ำจะลดลง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อน้ำส่งขึ้นไปตามชั้นต่าง ๆ และปล่อยให้ผู้คนที่อยู่บนชั้นบนสุด ได้รับแรงดันเล็กน้อยหรือไม่มีเลยในก๊อกน้ำ ความจำเป็นในการเพิ่มแรงดัน ยังอาจเกิดขึ้นได้ ตามการบูรณะซ่อมแซมบล็อกอาคาร ที่ ๆ ทุกแฟลตมีการติดตั้ง เครื่องล้างจาน และบ่อยครั้ง การมีเครื่องใช้ใหม่เพิ่มขึ้น จะนำไปสู่แรงดันที่ต้องมากขึ้น สำหรับการจ่ายน้ำ ในช่วงเวลาเฉพาะต่าง ๆ ในระหว่างวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อแรงดันในก๊อกน้ำ รูปแบบที่สามก็คือ อาคารที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ถึงแม้ว่าจะเป็นอาคารชั้นเดียวก็ตาม น้ำจะสูญเสียแรงดันระหว่างทาง ที่ขึ้นไปบนเขา ในกรณีทั้งหมดเหล่านี้ แรงดันน้ำ จากการประปาฯ สูงไม่เพียงพอ ต่อการทำให้แน่ใจได้ว่าแรงดัน จะเพียงพอต่อทั่วทั้งอาคารดังกล่าว คุณจำเป็นต้องใช้การเพิ่มแรงดัน เรามาดูทางเลือกกัน โซลูชั่นการเพิ่มแรงดัน ที่พบกันมากที่สุดสองอย่างคือ ปั๊มเพิ่มแรงดันพร้อมกับฟังก์ชั่น การทำงานแบบ start/stop และปั๊มเพิ่มแรงดันที่มาพร้อมกับ การปรับความเร็วรอบได้ เราลองมาดูกันทีละแบบ โดยเริ่มจากโซลูชั่นการทำงานแบบ start/stop ด้วยการทำงานแบบ start/stop ปั๊มเพิ่มแรงดันจะเดินเครื่องและ หยุดเดินเครื่อง ตามแรงดันการเดินเครื่อง (cut-in) และหยุดเครื่อง (cut-out) ที่กำหนดไว้ก่อนล่วงหน้า แล้วคุณทำการกำหนดอย่างไร?
ขั้นแรกคือทำการคำนวณแรงดัน ขั้นต่ำที่ต้องการสำหรับอาคาร เพื่อให้สามารถตั้งระดับ start/stop ได้ ลองใช้อาคารสูง 25 ชั้น ที่เท่ากับ 105 เมตรเป็นตัวอย่าง สมมติว่า คุณต้องการแรงดันขั้นต่ำ บนชั้นสูงสุดที่ 3 บาร์ ที่เท่ากับความสูงของน้ำ 30 เมตร ระดับเริ่มต้น (start) จึงต้อง อยู่ที่อย่างน้อย 13.5 บาร์ และระดับหยุด (stop) อยู่ที่ประมาณ 14.5 บาร์ ในการลดแรงดันให้กับ ชั้นที่อยู่ด้านล่างลงมา ต้องติดตั้งวาล์วระบายแรงดัน ไว้ที่ท่อตั้ง (Riser Pipe)มิฉะนั้น แรงดันที่ชั้นล่างสุด จะเท่ากับระดับหยุดเครื่อง (stop) ซึ่งในกรณีนี้ 14.5 บาร์ซึ่งสูงเกินไปอย่างมาก โดยในอาคารที่มีความสูง ไม่เกิน 50 เมตร วาล์วระบายแรงดัน อาจไม่จำเป็น ตอนนี้ ข้ามเรื่องโซลูชั่นแบบ start/stop และหันมาดูทางเลือกกัน ปั๊มเพิ่มแรงดันแบบปรับความเร็วรอบได้ ปั๊มเพิ่มแรงดันแบบปรับความเร็วรอบได้ เป็นโซลูชั่นที่ล้ำหน้ากว่า ที่ออกแบบมาเพื่อการส่งแรงดันน้ำ ที่เพียงพอและคงที่ ด้วยวิธีที่ประหยัดพลังงาน มาดูกันที่บล็อกอาคาร โดยทั่วไป มีความต้องการ ใช้น้ำสูงมากในช่วงเช้า แต่เมื่อทุกคนออกไปทำงานกันหมดแล้ว ความต้องการก็จะตกลงอย่างชัดเจน จนกว่าผู้คนจะกลับมา ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารที่ตั้ง อยู่ชั้นล่างสุดเปิดบริการอาหารกลางวัน ปั๊มเพิ่มแรงดันแบบปรับความเร็วรอบได้ จะปรับเปลี่ยนอัตโนมัติ ตามรูปแบบที่เปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาระดับการบริโภคพลังงาน ให้ต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แล้วคุณทำให้ชุดเพิ่มแรงดัน ทำอย่างนั้นได้อย่างไร?
คือ เมื่อคุณทำการคำนวณโหลดโปรไฟล์ (Load Profile-ข้อมูลพฤติกรรมการใช้น้ำ) ของอาคารแล้ว คุณก็สามารถกำหนดจุดตั้งแรงดันได้ง่าย ๆ โดยปั๊มจะคงระดับแรงดัน เดียวกันไว้ตลอดเวลา แต่ในช่วงเวลาที่มีการลดการใช้น้ำลง อย่างในช่วงระหว่างกลางวันหรือในเวลากลางคืน ก็จะลดความเร็วรอบลงเพื่อประหยัดพลังงาน ในเวลาที่ความต้องการอัตราการไหลต่ำมาก ยังมีความเป็นไปได้ที่ปั๊ม จะหยุดการทำงานทั้งหมด และไม่ใช้พลังงานเลยโดยสิ้นเชิง โปรดทราบว่า แรงดันในชั้นล่างๆ ยังอาจจำเป็นต้อง ติดตั้งวาล์วระบายแรงดัน เราได้ทราบถึงการเพิ่มแรงดัน แบบพื้นฐาน และโซลูชั่นที่พบได้ทั่วไปแล้ว มาสรุปกันดีกว่า การเพิ่มแรงดันขึ้นจะถูกใช้ เมื่อแรงดันจากการประปาฯ ไม่เพียงพอ สำหรับจ่ายให้ทั่วทั้งอาคาร ด้วยแรงดันที่เพียงพอ โซลูชั่นการเพิ่มแรงดันสองอย่าง ที่พบเห็นได้มากที่สุด คือแบบ start/stop และแบบปรับความเร็วรอบได้ ซึ่งทั้งสองแบบจะทำให้คุณสามารถมอบ ความสะดวกสบายให้กับลูกค้าของคุณ ในแบบที่มีแรงดันเพียงพอ ในก๊อกน้ำ ฝักบัวและเครื่องใช้ต่าง ๆ