ขั้นตอนของกระบวนการบำบัดน้ำ
รับบทสรุปขั้นตอนในกระบวนการต่างๆ ในการบำบัดน้ำเสียทางอุตสาหกรรมเพื่อทำความเข้าใจว่าขั้นตอนต่างๆ เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง
การบำบัดน้ำเสียทางอุตสาหกรรม มีขั้นตอนการผลิตหลายขั้นตอนด้วยกัน แต่ละขั้นตอนมีวัตถุประสงค์ที่เจาะจงมาก ในงานนี้ เราจะดำเนินการทีละขั้นตอน เพื่อดูรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน ขั้นตอนแรกในกระบวนการบำบัดน้ำคือ การเติมอากาศ การเติมอากาศจะขจัดสารประกอบอินทรีย์ ที่ระเหยได้ง่าย เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ แอมโมเนียหรือคาร์บอนไดออกไซด์ออก ด้วยการเติมออกซิเจนลง
ในน้ำ ยังสามารถใช้กระบวนการเติมอากาศกับ การออกซิไดซ์เหล็กหรือสารประกอบน้ำอื่นๆ ได้ และระบายออกจากน้ำ มีการเติมอากาศหลากหลายวิธีที่พร้อมให้บริการ คาสเคด เครื่องผสม หรือจานหมุน ที่ผลิตจากวัสดุที่เป็นรูพรุน เป็นโซลูชันที่นิยมใช้มากที่สุด ในการเป่าอากาศลงไปในน้ำ
ขั้นตอนต่อไปคือการสมานตะกอน
วัตถุประสงค์ของกระบวนการสมานตะกอน คือทำอนุภาคขนาดเล็กและสสารที่เป็นสารละลาย
ให้เป็นก้อนแข็ง จนกลายเป็นอนุภาคขนาดใหญ่ ที่สามารถกรองออกได้ในขั้นตอนการผลิตถัดไป
สารเคมีสองประเภทที่นำมาใช้ ในการจับตัวเป็นก้อนแข็ง โดยทั่วไปแล้ว สารเร่งการรวมตะกอนขั้นต้น จะเป็นเหล็กและเกลืออลูมิเนียม และ สารเร่งการรวมตะกอนขั้นที่สอง ซึ่งเป็นโพลีเมอร์รูปร่างยาว
เราต้องกำจัดฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้งหมด ออกจากน้ำในตอนนี้ ซึ่งดำเนินการได้ด้วยการแยก น้ำออกจากอนุภาคต่างๆ กระบวนการผลิตที่สามารถดำเนินการได้ โดยใช้วิธีการกรองทราย หรือเทคโนโลยีเมนเบรน
การใช้การกรองแบบไมโครหรืออัลตราฟิลเตชั่น สามารถกำจัดสสารที่เป็นสารละลาย ในขั้นตอนการดูดจับตามลำดับ ด้วยการเติมคาร์บอนกัมมันต์แบบผง และกรองน้ำด้วยตัวกรองที่เป็น ทรายในอันดับต่อไป เมื่อทำการกำจัดอนุภาคและสสารทั้งหมด ออกจากน้ำแล้ว ก็ได้เวลาเพิ่มสาร ลงในขั้นตอนการฆ่าเชื้อ สามารถทำการฆ่าเชื้อได้ โดยใช้วิธีการทางกายภาพ เช่น UV หรือการเติมสารเคมีที่เป็นสารฆ่าเชื้อ วิธีในการฆ่าเชื้อที่เลือกจะขึ้นอยู่กับ การใช้งานตามที่ต้องการ และคุณภาพของน้ำ
น้ำที่มีค่า pH ตั้งแต่แปดขึ้นไป จะไม่สามารถบำบัดด้วยคลอรีนได้ เนื่องจากสารฆ่าเชื้อนี้จะใช้งานไม่ได้ผล กับช่วง pH นี้ การใช้ UV ในน้ำที่มีความขุ่นสูง
ก็ไม่มีผลกับการใช้งานเช่นกัน เนื่องจาก แสง UV ไม่สามารถส่องผ่านน้ำได้อย่างเต็มที่
ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการรักษาระดับที่จำเป็น ในการรักษาสมดุลเคมีของน้ำ หลังจากที่กำจัดสารบางอย่างออกแล้ว และเติมลงไปในระหว่างกระบวนการบำบัด
โดยทั่วไปการรักษาระดับจะเกี่ยวข้องกับ การปรับค่า pH การรักษาสมดุลน้ำกับแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียมหรือแมกนีเซียม หรือการกำจัดไอออน
วัตถุประสงค์หลักในการรักษาสมดุล เคมีของน้ำ ก็เพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นในท่อ หรือของวัสดุที่ใช้ในส่วนต่างๆ ภายในกระบวนการทางอุตสาหกหรรม นอกจากนี้
ขั้นตอนการรักษาระดับ ยังเป็นขั้นตอนที่มั่นใจได้ว่า สภาพของน้ำตรงตาม มาตรฐานและข้อบังคับต่างๆ เช่น การบำบัดน้ำเสีย ขั้นตอนนี้จึงสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่จ่ายน้ำ ไปยังกระบวนการทางอุตสาหกหรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการผลิตเช่นกัน
ตลอดกระบวนการ บำบัดน้ำทั้งหมด มีการทำงานการตรวจวัด และการควบคุมที่แตกต่างกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ต้องการ ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ตรงตามข้อตกลงและเป็นไปตาม ข้อกำหนดเฉพาะทั้งหมดในที่สุด