แนะนำให้รู้จักกับการสูบน้ำบาดาล
ทำความเข้าใจพื้นฐานของการก่อสร้างบ่อน้ำและสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเพื่อให้มั่นใจว่าการทำงานมีประสิทธิภาพ
>> การรับน้ำใต้ดิน เกิดขึ้นที่ต่ำกว่าผิวดินหลายเมตร ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ 10 ถึงหลายร้อยเมตร ที่ซึ่งไม่สามารถมองเห็น กระบวนการทำงานได้ด้วยตา กิจกรรมนี้จะแนะนำให้คุณทราบถึง พื้นฐานในการก่อสร้างบ่อ และถึงความท้าทายที่ขอแนะนำให้นำมาพิจารณา เพื่อให้มั่นใจว่าได้บ่อน้ำที่ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุยืนยาว มาเริ่มกันอย่างย่อ ๆ ด้วยการพิจารณาถึงวงจรของน้ำ เพื่อให้เข้าใจว่าน้ำใต้ดินมาจากที่ใด แท้จริงแล้ว น้ำใต้ดินก็คือน้ำจากผิวดิน ที่ไหลซึมจากผิวดินผ่านพื้นดิน และในที่สุดก็ถูกกักไว้ที่บริเวณ ที่เรียกกันว่าชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) และเป็นที่ชั้นหินอุ้มน้ำเหล่านี้นี่เอง ที่เราดึงน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ อย่างไรก็ตาม น้ำบาดาลนั้นเป็นทรัพยากรที่มีขีดจำกัด และชั้นหินอุ้มน้ำจะถูกเติมลงไป ต่อเมื่อน้ำบนผิวดินไหลซึมลงไปเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เมื่อมีฝนตกหรือจากแม่น้ำและธารน้ำ ซึ่งหมายความว่า เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้แน่ใจได้ว่า อัตราการสูบน้ำบาดาลจะไม่เกินกว่า อัตราที่น้ำถูกเติมลงไป ตอนนี้มาเจาะลึกกันที่บ่อและดูว่า บ่อเหล่านี้ก่อสร้างขึ้นอย่างไร หลุมเจาะมักถูกทำขึ้น ในที่ ๆ ระดับน้ำใต้ดินสูงสุด เท่าที่เป็นไปได้ ยิ่งระยะทางถึงน้ำสั้นลง ค่าใช้จ่ายในการสร้างหลุมเจาะก็ยิ่งลดลง และที่ตามมา คือการปั๊มน้ำขึ้นสู่ปากบ่อ ที่จุดนี้ เป็นสิ่งสำคัญเช่นกันที่ต้องให้ความสนใจกับ ระดับน้ำลด (water drawdown) ระดับน้ำลดคือ ความแตกต่างระหว่าง ระดับน้ำปกติก่อนสูบ และระดับน้ำขณะสูบ เมื่อเปิดสวิทช์ปั๊ม และเดินเครื่องด้วยสมรรถนะตามพิกัด ยิ่งระดับน้ำลดลงลึกมาก หลุมเจาะก็ควรยิ่งลึกลงด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ ปั๊มต้องจุ่มอยู่ในน้ำตลอดเวลา ณ ขั้นตอนนี้เอง ที่ผู้เจาะน้ำบาดาลทำการประเมิน ว่ามีการไหลของน้ำในบ่อ ที่สามารถสูบจ่ายได้มีเท่าใด ภายในหลุมเจาะมีตัวกรองทราย และท่อกรุบ่อพลาสติกหรือท่อเหล็ก พร้อมเซาะร่องละเอียด เพื่อให้น้ำไหลเข้าไปใน ท่อกรุ ณ จุดที่ตั้งปั๊มไว้ ก่อนที่บ่อจะใช้การได้ ต้องทำสิ่งที่เรียกกันว่าการพัฒนาบ่อก่อน กระบวนการนี้ทำให้แน่ใจได้ว่า ประสิทธิผลการกรองทราย ถูกพัฒนาแล้วเป็นอย่างดี และบ่อถูกสูบน้ำโดยปลอดทรายและเลนโคลน เมื่อผ่านช่วงเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ฝุ่นละเอียด (Fine Particle) จากชั้นหินอุ้มน้ำ ถูกดึงเข้าไปในตัวกรองทราย เพื่อก่อรูปผนังการกรองที่มีประสิทธิภาพ ที่ส่วนบนสุดของบ่อ ซีลปิดผนึกเพิ่มเติม คอยปกป้องการติดตั้งจากวัตถุที่ก่อมลพิษ ที่อาจถูกทิ้งไว้บนพื้นดินและอาจเป็นไปได้ ที่จะซึมผ่านเข้ามาในบ่อ และเข้ามาปนเปื้อนทั่วทั้งชั้นหินอุ้มน้ำ ยังมีความท้าทายใต้ผิวดินบางประการ ที่คุ้มค่าต่อการนำมาพิจารณา เพื่อให้มั่นใจได้ถึงภาวะที่ดีที่สุด และอายุการใช้งานที่ยืนยาวของบ่อ โดยทรายเป็นสิ่งแรกที่ควรคำนึงถึง หากตัวกรองทรายไม่ได้จัดทำขึ้นอย่างเหมาะสม ทรายจะลอยฟุ้งเข้าไปสู่น้ำบาดาล อย่างต่อเนื่อง และเข้าภายในท่อกรุ และจะทำลายปั๊มเมื่อเวลาผ่านไป โดยใช้เวลานานเท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณของทราย แต่มีตัวอย่างจำนวนหนึ่งของ อายุการใช้งานปั๊มที่มีอายุสั้น เพียงแค่สามเดือนเท่านั้น ซึ่งสืบเนื่องจากงานก่อสร้างที่ด้อยคุณภาพ ความท้าทายประการที่สองก็คือ ตำแหน่งที่ตั้งของบ่อน้ำ บ่อที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต้องเผชิญความเสี่ยงจากน้ำเค็ม ที่ไหลซึมเข้าสู่น้ำบาดาล หากการสูบน้ำไปลดระดับน้ำปกติ ก่อนสูบมากเกินไป โดยทางหนึ่งในการหลีกเลี่ยงปัญหานี้ก็คือ ไม่ต้องกังวลเรื่องการสูบน้ำจากบ่อ เพื่อปล่อยให้มีการเติมน้ำจากผิวดิน อีกวิธีหนึ่งคือ สร้างบ่อสองบ่อหรือมากกว่า เพื่อแยกการสูบน้ำให้เท่า ๆ กัน สุดท้าย ควรคำนึงถึงสภาวะใต้ดินอยู่เสมอ เมื่อทำการเลือกปั๊มซับเมิร์สสำหรับบ่อบาดาล หากน้ำบาดาลมีความกัดกร่อน เป็นสิ่งสำคัญที่วัสดุปั๊มต้องออกแบบมา เพื่อให้ทนต่อสิ่งนี้ โดยทั่วไป มักแนะนำให้เลือกปั๊ม ที่สามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี และมีการออกแบบและใช้วัสดุ ที่สามารถต้านทานทรายได้ดีในระดับสูง เพื่อให้มั่นใจได้ถึงสมรรถนะที่วางใจได้ และอายุการใช้งานที่ยาวนาน