กรณีศึกษา
โรงผลิตน้ำในกัมพูชาพอใจกับการประหยัดพลังงานได้ 15%
เราทำให้ราคาในการผลิตน้ำถูกลงมากและได้รับผลกำไรมากขึ้นและเราสามารถจัดหาน้ำให้เพียงพอซึ่งทำให้ลูกค้าของเรามีพึงพอใจ
ในจังหวัดตาแกว (Takéo) ของกัมพูชา บริษัทผลิตน้ำกำลังทำในสิ่งที่พวกเขาสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อจ่ายน้ำดื่มไปยังเมืองโฎนแกว (Doun Kaev) ซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็ก และหมู่บ้านบริเวณโดยรอบ 45 หมู่บ้านที่มีประชากรอยู่ประมาณ 44,000 คน บริษัทประปาตาแกวเซฟก่อตั้งขึ้นในปี 1995 และได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน โครงข่ายการจ่ายน้ำของพวกเขามีระยะทางยาวประมาณ 140 กิโลเมตร (87 ไมล์)
“ด้วยการสูบน้ำมาจากทะเลสาบโรกาขนอง (Roka Khnong) โรงผลิตน้ำดื่มใช้ปั๊มรุ่นเก่าจากอิตาลีหรือจีน เพื่อจ่ายน้ำที่ผ่านการบำบัดออกไปยังโครงข่าย” คำกล่าวของ Sok Por (ผู้จัดการโรงงาน) “ปั๊มเหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบโดยใช้มาตรวัดแรงดันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” เขากล่าว “ทีมผลิตที่เตรียมพร้อมอยู่จะเข้าตรวจสอบและประเมินโดยใช้ค่าจากมาตรวัดนี้”
ทุกสิ่งดำเนินการแบบแมนวล โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากมาตรวัดแรงดันกับตารางการใช้งานประจำวัน ทีมดังกล่าวจะทำการเพิ่มหรือลดปั๊มน้ำออกจากโครงข่ายการสูบน้ำในแต่ละรอบวัน “หากแรงดันเพิ่มขึ้นและมีค่าเกิน 4 บาร์ เราต้องลดปั๊มลง 1 ตัวเพื่อรักษาเสถียรภาพของแรงดัน ป้องกันน้ำไม่ให้ท่อระเบิดจากแรงดันที่สูงเกินไป โดยทีมที่เตรียมพร้อมดังกล่าวต้องทำการตรวจเช็คเป็นระยะ”
แม้ว่าพวกเขาจะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม แต่ในบางครั้งทีมดังกล่าวก็ประมาณการแรงดันที่ใช้มากเกินไป ส่งผลทำให้ท่อเกิดความเสียหาย ทำให้เกิดน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NRW) ซึ่งเป็นการสูญเสียทั้งน้ำและพลังงานด้วย เขากล่าวเพิ่มเติม ทางโรงผลิตน้ำตาแกวเซฟเคยมีปริมาณน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NRW) สูงถึง 26% ตามที่ประมาณไว้ การเปลี่ยนอะไหล่ปั๊มน้ำที่มีต้นทุนสูง และก่อให้เกิดความไม่พอใจสำหรับลูกค้าในหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากโรงผลิตน้ำออกไปไกลสุด
หมู่บ้านที่ไม่มีน้ำ
ตัวอย่างเช่น หมู่บ้านเพรกปาโอฟ (Prek Pha-Aov) ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 10 กม.(6.2 ไมล์) จากโรงผลิตน้ำ ก่อนหน้านี้น้ำไหลจากก๊อกน้ำเพียงสองสามชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ทำให้เป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับผู้พักอาศัยและธุรกิจท้องถิ่น
“ก่อนหน้านี้ เมื่อไม่มีน้ำ มันเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับฉันอย่างมาก” Nab Orn กล่าวซึ่งเป็นผู้พักอาศัยในชุมชนที่บ้านของเธอ “มันดูเหมือนกับว่าฉันต้องการใช้น้ำ แต่ไม่มีน้ำให้ใช้ ไม่มีอะไรเลย”
เธอกล่าวว่า ผลที่เกิดขึ้นคือ ไม่ว่าเธอจะจ่ายค่าน้ำประปาที่ส่งมายังบ้านของครอบครัวของเธอ หรือบางครั้งซื้อน้ำจากหมู่บ้านอื่นก็ตาม “ฉันก็ต้องใช้เงินเป็นส่วนนี้เป็นจำนวนมาก” เธอกล่าว
การแก้ปัญหา
บริษัท ตาแกว เซฟ วอเตอร์ซัพพลาย ได้ร่วมมือกับทางกรุนด์ฟอสเพื่อนำเอาเทคโนโลยีที่ผ่านการทดสอบแล้วอย่างดีคือ ระบบจ่ายน้ำตามความต้องการ (Demand-driven distribution: DDD) พร้อมกับโมเดลการลงทุนแบบใหม่ที่เรียกว่า “สัญญาจ่ายเงินตามสมรรถนะการทำงาน” (Performance-Based Contract)
สำหรับระบบ DDD นั้น ทางกรุนด์ฟอสได้ดำเนินการเข้าตรวจสอบระบบปั๊มของโรงผลิตน้ำตาแกวก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งรวมการตรวจสอบข้อมูลหลัก เช่น แรงดัน อัตราการไหล และอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน Aloysius Chan (ผู้จัดการของ Grundfos Water Utility ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) กล่าว “ข้อมูลนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่ใกล้เคียงที่สุดสำหรับปริมาณน้ำและอัตราสิ้นเปลืองพลังงานที่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งถือเป็นตัวแปรหลัก 2 ตัว เมื่อเราพิจารณาเรื่องการประหยัดน้ำและพลังงาน”
โดยอ้างอิงจากผลการตรวจสอบ ทางกรุนด์ฟอสได้ติดตั้งระบบ DDD ซึ่งประกอบด้วยปั๊มประสิทธิภาพสูงสำหรับการจ่ายน้ำ แผงควบคุม และตัวตรวจจับแรงดัน ทางกรุนด์ฟอสติดตั้งตัวตรวจจับไว้ที่จุดสำคัญต่างๆ ในโครงข่าย ในกรณีนี้มีตัวหนึ่งติดตั้งไว้ในหมู่บ้านเพรกปาโอฟ โดยตัวตรวจจับจะทำการตรวจจับแรงดันและอัตราการไหล โดยอ้างอิงจากการใช้น้ำในท้องถิ่น และส่งข้อมูลนี้กลับไปยังแผงควบคุมที่โรงผลิตน้ำ ตลอดระยะเวลาของการทำงาน ระบบจะเรียนรู้ในการพยากรณ์รูปแบบอัตราการใช้น้ำของหมู่บ้านต่อชั่วโมง โดยระบบจะปรับตั้งแรงดันระบบโดยรวม (หรือเปิด-ปิดปั๊มเพื่อชดเชยการทำงาน) ให้สอดคล้องกัน” Chan กล่าว
สำหรับคนงานที่สถานีจ่ายน้ำ ดูเหมือนเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะเชื่อว่าระบบจะทำงานอย่างอัตโนมัติได้ หลังจากที่พวกเขาได้ทำการปรับตั้งแบบแมนวลและคาดเดาการทำงานมาเป็นเวลาหลายปี จึงเป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะไว้วางใจในระบบในตอนแรก
“ก่อนการติดตั้ง ผมกลัวว่าท่อน้ำอาจจะระเบิดได้” Sok Por กล่าว “หากปั๊มจ่ายน้ำในตอนกลางคืนโดยใช้แรงดันที่สูง แต่มีผู้ใช้น้ำขณะนั้นเพียงไม่กี่ราย ผมไม่คิดว่าระบบจะลดระดับแรงดันได้เอง ผมไม่เชื่ออย่างนั้นจริงๆ แต่ระบบนี้ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบสามารถจ่ายน้ำได้ตามความต้องการ เป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับสิ่งที่ผมคิดไว้อย่างมาก”
สัญญาจ่ายเงินตามสมรรนถนะการทำงาน (Performance-based contract)
แทนที่จะจ่ายเงินล่วงหน้าให้กับระบบ DDD ทั้งหมด โรงผลิตน้ำตาแกวจะจ่ายเงินเป็นงวดรายปี โดยคิดจากการประหยัดเงินลงทุนที่พวกเขาทำได้จากการอัพเกรดระบบ ดังนั้นหากระบบถูกประมาณการณ์ว่าสามารถประหยัดพลังงานและน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NRW) ได้ X ดอลลาร์ ตลอดระยะเวลา 5 ปี โรงผลิตน้ำตาแกวตกลงที่จะจ่ายเงิน 50% ของจำนวนเงินที่จ่ายให้แก่กรุนด์ฟอสเป็นค่าอุปกรณ์ และส่วนที่เหลือทางโรงผลิตน้ำตามแกวก็จะเก็บไว้
“สำหรับสัญญาจ่ายตามสมรรถนะการทำงานนั้น ผู้ปฏิบัติงานในโรงผลิตน้ำใช้เงินลงทุนน้อยมากแต่ได้รับระบบปั๊มน้ำที่ทันสมัย” Chan กล่าว “ประการที่สอง พวกเขาสามารถตัดสินผลการปฏิบัติงานในรูปของตัวเลขได้” ระบบจะทำการรวบรวมข้อมูลดิทิจัลแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะเป็นการตรวจสอบข้อมูลแบบรายวันและระยะยาว การรักษาระดับแรงดันให้คงที่ในจุดวิกฤติต่างๆ ทำได้อย่างไร? ปั๊มมีประสิทธิภาพในการทำงานในแบบที่ดีที่สุดหรือไม่?
“การใช้ตัวเลข การวัดค่าได้ ถือเป็นสิ่งที่ขาดในโรงผลิตน้ำ และด้วยระบบที่เข้ามานี้ทำให้โรงผลิตน้ำสามารถวัดข้อมูลและตัดสินสมรรถนะของปั๊มน้ำได้” Chan กล่าว “ระบบสามารถหาค่าอัตราการไหล ระบบสามารถหาค่าอัตราสิ้นเปลืองพลังงาน ระบบยังสามารถกำหนดแรงดันที่จะใช้เพื่อสูบน้ำได้ด้วย และระบบยังมองเห็นแนวโน้มเทียบกับเวลาได้อย่างครบถ้วน”
ผลลัพธ์ที่ได้
ในตอนนี้หมู่บ้านรอบโรงผลิตน้ำมีน้ำใช้ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน ผู้พักอาศัยไม่ต้องซื้อน้ำเพิ่มเติมอีกแล้ว หากต้องการน้ำพวกเขาเพียงแค่เปิดก๊อกน้ำ
“ในตอนนี้พวกเขามีน้ำ ครอบครัวของฉันรู้สึกสะดวกสบายขึ้น” Nab Orn กล่าว “หากเราจำเป็นต้องใช้น้ำเพื่อต้มหรือปรุงอาหาร ก็ไม่ยากเหมือนก่อนหน้านี้ พวกเราสามารถปลูกผักได้บริเวณรอบบ้าน (แม้ในฤดูร้อนก็ตาม) เช่นเดียวกันชาวบ้านบางคนต้องการทำธุรกิจบางอย่าง เช่น การขายก๋วยเตี๋ยว หรือกาแฟ ตอนนี้พวกเขามีน้ำเพียงพอที่จะใช้แล้ว
สำหรับโรงผลิตน้ำ ระบบช่วยให้ประหยัดได้หลายทาง และรวมถึงวิธีการทำงานแบบใหม่ด้วย
หลังจาก 1 ปี โรงผลิตน้ำสามารถบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้: ประหยัดการใช้พลังงานได้ 20%, ลดปริมาณน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NRW) เนื่องจากการรั่วลงได้ 13% และลดการระเบิดของท่อลงได้ 29%”
“ฉันรู้สึกพึงพอใจอย่างมากสำหรับการติดตั้งระบบใหม่นี้” Sok Por กล่าว “อย่างแรกสุดคือ เราประหยัดค่าไฟฟ้าได้ อย่างที่สองคือ เราประหยัดวัตถุดิบได้ (สารเคมีที่ใช้สำหรับการบำบัดน้ำ) และอย่างสุดท้ายคือ เราลดการสูญเสียได้ เราจ่ายน้ำโดยใช้ข้อมูลแรงดันน้ำที่จำเป็นจากลูกค้า โดยน้ำจะไหลตามความต้องการเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากเมื่อก่อนอย่างสิ้นเชิง”
นอกจากนี้ระบบ DDD ยังทำให้โรงผลิตน้ำลดแรงงานลงได้ “อย่างเห็นได้ชัด” เขากล่าว พนักงานของเขาไม่จำเป็นต้องเฝ้าตรวจสอบปั๊มอยู่ทุกชั่วโมงตลอดทั้งวันอีกต่อไป
คุณ Sila ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายเทคนิคของโรงผลิตน้ำ กล่าวว่า “เราเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้เราสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้น กำไรที่หายไปกับค่าไฟฟ้า สารเคมี การหยุดจ่ายน้ำหรือการรั่วของน้ำจากระบบท่อ เราประหยัดได้อย่างมาก หลังจากที่เราได้ติดตั้งเทคโนโลยีใหม่"
คุณ Sila กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราสามารถตั้งราคาน้ำได้ถูกลงกว่าเดิมและได้รับกำไรเพิ่มขึ้น และเราสามารถจ่ายน้ำได้อย่างคงเส้นคงวา ซึ่งทำให้ลูกค้าของเรามีความพึงพอใจขึ้น”